ลิงก์เชื่อมโยง ระบบ E-GP

แผนพัฒนาท้องถิ่น

แผนการดำเนินงานประจำปี

แผนการใช้จ่ายงบประมาณปี

แผนป้องกันการปราบปรามทุจริต

การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ผลการปฏิบัติงานประจำปี

ติดตามและประเมินผลแผนฯ

รายงานทางการเงิน ประจำเดือน

รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ

งบประมาณรายจ่ายประจำปี(ข้อบัญญัติ)

แผนการจัดซื้อจัดจ้าง/จัดหาพัสดุ

การจัดซื้อจัดจ้าง

ระเบียบ/กฎหมาย

ระบบควบคุมภายใน

งานตรวจสอบภายใน

แบบสอบถามความพึงพอใจ

ระเบียบขอเข้าศึกษาดูงาน

ร้องเรียน ร้องทุกข์

ผลการตรวจสอบจาก สตง. ปปช. ปปท.

ผลการดำเนินงานประจำปี ITA

ผลการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน

รายงานประชุมคณะผู้บริหารและพนักงาน

ประกาศเรียกประชุมสภา ประจำปี 2562

การจัดองค์ความรู้ในองค์กร(KM)

ร้องเรียนงานทรัพยากรบุคคล

กองทุน สปสช./สาธารณสุข

คู่มือมาตรฐานการให้บริการ

FACEBOOK อบต.หัวง้ม

จดหมายข่าว

การเสริมสร้างวัฒนธรรมฯ

นวัตกรรมการพัฒนา

การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร

มอบอำนาจของนายก

งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ

ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการประชาชน

การประเมินความเสี่ยง

ช่องทางการตอบฯ (EIT)

มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสฯ

เอกสารแนบศูนย์ยุติธรรมชุมชน

ประชุมประจำเดือน

ข้อบัญญัติอื่น ๆ

ประกาศเรียกประชุมสภา

เจตจำนงฯ ในการต่อต้านการทุจริต

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม

มาตรฐานในการปฏิบัติงาน

เจตจำนงการบริหารงานด้วยความสุจริต

e-service

ผู้นำชุมชนตำบลหัวง้ม

โครงสร้างสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม

หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

กิจการสภา

งานพัฒนาชุมชนตำบลหัวง้ม

วัฒนธรรมตำบลหัวง้ม

O17รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายปี/017 รายงานสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี 2566(ITA)

O14 การจัดซื้อจัดจ้างหมวดงบลงทุน ปี พ.ศ.2567

รายงานเงินสะสมและการใช้จ่ายเงินสะสม

016ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ2567

ลานกีฬา/อุปกรณ์กีฬา

โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม

ที่มาและความสำคัญ

โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม เกิดขึ้นจากความตระหนักของชุมชนถึงผลกระทบที่เกิดจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรตำบลหัวง้ม ที่เริ่มปรากฏขึ้นในชุมชน โดยจากสถิติข้อมูลจำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในตำบล  ตัวเลขดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่าตำบลหัวง้มได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว  ซึ่งจะเห็นได้จากมีปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นโดยมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต  การถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง  จนเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุในตำบลด้วยสถิติต่อจำนวนประชากรที่น่าเป็นห่วง ชุมชนจึงหันมาพูดคุยกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ เป็นต้นมา   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุน  ส่งเสริมในด้านต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๖  มาตรา ๑๑ ข้อ ๒ และข้อ๔ ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่างๆ อาทิเช่น การศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน เป็นต้น ดังนั้นตำบลหัวง้มจึงได้กำหนดทิศทางในการพัฒนาให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง และผู้สูงอายุด้วยกันเอง ซึ่งเกิดจากภาคประชาสังคมในตำบลได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนดังกล่าวและเป็นการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามทิศทางที่กำหนดไว้ของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม คือ “แก่อย่างสง่า  ชราอย่างมีคุณภาพ”

 

วิธีการดำเนินงาน(รูปธรรมการทำงานจริง)

โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้มมีการทำกิจกรรมหลักคือพัฒนาให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง และผู้สูงอายุด้วยกันเอง เนื่องจากตำบลหัวง้มได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว  ซึ่งจะเห็นได้จากมีปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นโดยมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต  การถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง  จนเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุในตำบลด้วยสถิติต่อจำนวนประชากรที่น่าเป็นห่วง ชุมชนจึงหันมาพูดคุยกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นมา   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุน  ส่งเสริมในด้านต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๖  มาตรา ๑๑ ข้อ ๒ และข้อ๔ ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่างๆ อาทิเช่น การศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน มีการใช้ทุนและศักยภาพของชุมชน ดังนี้

          วัดศรีเมืองมูล หมู่ที่ ๘ บ้านบวกขอนโดยท่านพระครูสุจิณกัลยาณธรรมรองเจ้าคณะอำเภอพานเป็นผู้กำกับ ดูแล อำนวยความสะดวกด้านอาคารสถานที่ พร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนและประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโรงเรียน รวมทั้งประสานแหล่งงบประมาณมาสนับสนุนโรงเรียน

          องค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้มให้การสนับสนุนบุคลากรของ อบต.มาอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆของนักเรียนผู้สูงอายุ ประสานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้ามาสนับสนุนโรงเรียนผู้สูงอายุให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

          สมาชิกสภาอบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน เป็นแกนนำในตำบล/หมู่บ้านสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นผู้ประสานงานและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆของกลุ่มในกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวง้มให้การสนับสนุนบุคลากรโดยเป็นครูผู้สอน/วิทยากร ด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพตนเองและเพื่อนักเรียนผู้สูงอายุรวมทั้งจัดบุคลากรอำนวยความสะดวกในการรับ-ส่งนักเรียนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลจากโรงเรียนและสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงไม่สะดวกในการเดินทางมาเรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนผู้สูงอายุจัดขึ้นในวาระโอกาสที่สำคัญต่าง ๆ ตลอดมา

          ชมรมผู้สูงอายุตำบลหัวง้มมีบทบาทในการประสานการดำเนินงานของโรงเรียน ด้านการประสานงานระหว่างนักเรียนผู้สูงอายุกับองค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง

          ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุในด้านการดำเนินกิจกรรมของนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ

 

ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ

ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในการใช้ชีวิต เกิดทักษะการดูแลตนเองดังที่กล่าวว่า “แก่อย่างสง่า  ชราอย่างมีคุณภาพ”โดยมีวิธีการดำเนินงานคือเน้นปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นโดยมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต  จึงได้มีการส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่างๆแก่กลุ่มผู้สูงอายุ อาทิเช่น การศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต รวมทั้งการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ดังนั้นตำบลหัวง้มจึงได้กำหนดทิศทางในการพัฒนาให้ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง และผู้สูงอายุด้วยกันเอง ซึ่งเกิดจากภาคประชาสังคมในตำบลได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนดังกล่าวและเป็นการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามทิศทางที่กำหนดไว้ของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม คือ “แก่อย่างสง่า  ชราอย่างมีคุณภาพ”

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อประชากรกลุ่มเป้าหมาย

จากการดำเนินงานของแหล่งเรียนรู้โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเป้าหมายใน ๓ ระดับคือ ระดับกลุ่มองค์กร แหล่งเรียนรู้หมู่บ้าน(จัดการตนเอง)และระดับตำบล(จัดการตนเอง) ดังนี้ บุคคล หรือ กลุ่มที่รวมตัวกันทำงานตามระบบจิตอาสาและการดูแลสุขภาพชุมชนถือเป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคม  เป็นการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์หรือลานกิจกรรม อย่างน้อย 1 พื้นที่ในตำบล    การทำงานของกลุ่มนี้ทำให้เกิดการศึกษาตามอัธยาศัยหรือการศึกษาทางเลือกอื่นๆ รวมถึงการจัดระบบการศึกษารูปแบบบูรณาการ สังคม วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพตามบริบทพื้นที่ สำหรับผู้สูงอายุ มีการจัดการเรียนการสอนทุกวันพฤหัสบดี แบ่งการเรียน เป็น ๒ ภาคเรียน โดยครูผู้สอน/วิทยากร ใน ๓ หมวดวิชา คือ ๑) หมวดวิชาพระพุทธศาสนา๒) หมวดวิชาการดูแลสุขภาพร่างกาย๓) หมวดวิชาสังคมและวัฒนธรรม มีนักเรียน ๔ ชั้นปีและมีคณะกรรมการดำเนินงานและคณะกรรมการที่ปรึกษา ทั้งนี้มีชมรม อสม.จิตอาสาของตำบลจัดสมาชิกจากทุกหมู่บ้าน เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลตรวจสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุทุกครั้งที่มีการเปิดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมพิเศษในวาระต่างๆของโรงเรียนการทำงานจึงสอดรับกับข้อเสนอนโยบายสาธารณะตามประเด็นการบริหารจัดการตำบล  วิธีการทำงานที่ดำเนินอยู่ของกลุ่มและเป็นงานที่ทำให้เกิดการสร้างแหล่งเรียนรู้    สามารถถ่ายทอดเรื่องราวข้อความรู้ได้  เกิดวิธีการทำงานจนนำไปปฏิบัติได้จริง    ทำให้เกิดทักษะความชำนาญ  ขยายผล เพิ่มสมาชิก  จึงถือเป็นการสร้างความรู้ได้   งานของกลุ่มได้เห็นประจักษ์ในชุมชนว่าทำให้เกิดการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้สูงอายุในชุมชน เกิดการขยายกลุ่มเป็นเครือข่ายระหว่างหมู่บ้าน  ทำให้ผู้นำกลุ่มมีภาวะของการนำและสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง    สมาชิกที่รวมกลุ่มเกิดความรักและการดูแล เอื้ออาทรซึ่งกันและกันเกิดความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตมากขึ้น มีทักษะในการดูแลสุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเห็นคุณค่าในชีวิตของตนเอง ทุกภาคส่วนในชุมชนมีบทบาทในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชนเกิดการพัฒนาร่วมกันทำให้เกิดกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความเป็นเจ้าของ

 

ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

1. การดูแลสุขภาพ การดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยผ่านทางกิจกรรมทางเลือกตามอัธยาศัยและความสนใจของผู้เรียน เช่นการเล่นดนตรีพื้นเมือง การทำอาหาร การสอนรำวงมาตรฐานหรือรำวงย้อนยุค การเล่นเปตอง การฝึกโยคะและการดูแลสุขภาพ การเรียนภาษาไทย และการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

          2. การออกกำลังกาย การดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกาย ตั้งแต่การเต้นออกกำลังกายในตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน การรำวงย้อนยุค การเล่นเปตอง การฝึกโยคะ ซึ่งส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีจิตใจที่แจ่มใสมากขึ้น

          3. การลงทุนด้านสุขภาพ การดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุถือเป็นการลงทุนด้านสุขภาพ ที่มุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุมีการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพที่ดี

ความสอดคล้องของกิจกรรมด้านการดูแลผู้สูงอายุกับ7+1 ข้อเสนอนโยบายสาธารณะ

จากการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้มจะส่งผลกระทบกับนโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ดังนี้

- หนุนเสริมการสร้างเครือข่ายขององค์กรชุมชนและกลุ่มทางสังคมด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเรียนรู้ แบบข้ามพื้นที่การเกิดขึ้นมาของโรงเรียนผู้สูงอายุทำให้เกิดเครือข่ายขององค์การชุมชนกลุ่มต่างๆ เข้ามาศึกษาดูงานที่โรงเรียนผู้สูงอายุจำนวนมาก ทำให้เกิดเครือข่ายในการให้ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันจำนวนมาก

นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบกับนโยบายสาธารณะด้านการลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน ได้แก่

-โรงเรียนผู้สูงอายุ เกิดขึ้นมาแล้วทำให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมการช่วยเหลือดูแลอาสาสมัครในด้านการดูแลสุขภาพ

- ส่งเสริมสนับสนุนหรือสร้างมาตรการในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อสุขภาพแม่และเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออื่นๆ ในชุมชน

- จัดทำคู่มือหรือแนวทางการดูแลสุขภาพตนเอง และการช่วยเหลือดูแลผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

- สร้างช่องทางการสื่อสาร และกระจายข่าวสารด้านสุขภาพ

การบูรณาการเชื่อมโยงการดูแลผู้สูงอายุตำบล ตาม ๖ ชุดกิจกรรมหลัก

ทุนและศักยภาพของชุมชน ประกอบไปด้วยบุคคล กลุ่มแกนนำ กลุมองค์กร หน่วยงาน แหล่งประโยชน์ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในมิติต่างๆของแหล่งเรียนรู้แบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ ๑)ทุนและศักยภาพในหมู่บ้าน ๒)ทุนและศักยภาพของหมู่บ้านอื่นหรือตำบล และ ๓)ทุนและศักยภาพนอกตำบล

          ทุนและศักยภายภาพในหมู่บ้าน

          -คณะสงฆ์ และวัดศรีเมืองมูลให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนอาคารสถานที่ที่เหมาะสมในการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม

-ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน เป็นแกนนำร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

 

 

ทุนและศักยภาพของหมู่บ้านอื่น

โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้มเป็นสถานที่ที่ให้การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ผู้สูงอายุให้มีความสุข มีสุขภาพกายและใจที่ดี เป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาตำบล รวมทั้งเป็นสถานที่ศึกษาดูงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามบริบทชุมชนของตนเอง

          -องค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้มสนับสนุนบุคลากร งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม มีแกนนำกลุ่มเช่น คณะผู้บริหาร, เจ้าหน้าที่อบต.หัวง้ม, ครูผู้สอน/วิทยากรผู้มีจิตอาสารวมทั้งหน่วยงานในพื้นที่  มีจิตอาสา เสียสละ ทุ่มเทความรู้ความสามารถในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้มอย่างเต็มกำลังความสามารถ

          -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวง้มสนับสนุนความรู้และวิชาการ/บุคลากร ด้านการดูแลสุขภาพ และวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม

          -โรงเรียนป่าแดงวิทยาให้การสนับสนุนบุคลากรในการจัดการเรียนการสอน ให้แก่โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

          -ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)ให้การสนับสนุนให้สมาชิกของชมรมทุกหมู่บ้าน ตรวจสุขภาพ และคอยดูแลช่วยเหลือนักเรียนผู้สูงอายุในวันที่มีการเรียนการสอน

-ประชาชนและภาคประชาสังคม  ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้มและมีความภาคภูมิใจในเกียรติยศของตำบลหัวง้มที่ได้รับรางวัลในระดับต่างๆอย่างต่อเนื่อง

-นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุให้ความร่วมมือในการศึกษาเรียนรู้ตามหลักสูตรของโรงเรียน และมีความสุขที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตำบล เป็นตัวอย่างที่แก่ลูกหลานในชุมชน

 

ทุนและศักยภาพนอกตำบล

-โรงพยาบาลพานสนับสนุนความรู้และวิชาการ/บุคลากร ด้านการดูแลสุขภาพ และวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม

 

โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้มได้นำหลักการ ฐานคิดในการทำงานของตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม  มีกระบวนการและแนวทางการทำงานบนอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของคนห้วง้ม ที่มีวิถีชีวิตบนการเอื้ออาทรกันและกัน  การพึ่งพาตนเอง  บนวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างสำนึกคนหัวง้มให้มีคุณธรรม เป็นคนดี คนเก่ง เพื่อเป็นผู้นำการพัฒนาตำบล โดยมุ่งเน้นการสร้างสำนึกความดีเพื่อเป็นพื้นฐานของคนดี “เก่ง  ดี มีสุข” ให้คนหัวง้มตั้งแต่ในวัยเด็กจนกระทั่งแก่ชรา เพื่อร่วมกันสร้างตำบลหัวง้มให้เป็นตำบลของคนดี บนการมีส่วนร่วมของประชาชน บนวิถีความพอเพียง  คนหัวง้มรักษ์ถิ่นกำเนิดของตนเองโดยมีความหวงแหนความเป็น     อัตลักษณ์ตัวตนของคนหัวง้มโดยมีการจัดการงานตามภารกิจหลักของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้มคือ การให้การศึกษาทางเลือกทางหนึ่งที่เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามบริบทของชุมชน เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าในการขับเคลื่อนการพัฒนาตำบล บนพื้นฐานของการบูรณาการกับทุกหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งในและนอกตำบล รวมทั้งการสร้างบุคลากรที่มีจิตอาสา เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนโดยภาคประชาสังคมอย่างแท้จริง

โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้มมีการจัดการเรียนการสอนทุกวันพฤหัสบดี แบ่งการเรียน เป็น ๒ ภาคเรียน โดยครูผู้สอน/วิทยากร ใน ๓ หมวดวิชา คือ ๑) หมวดวิชาพระพุทธศาสนา๒) หมวดวิชาการดูแลสุขภาพร่างกาย๓) หมวดวิชาสังคมและวัฒนธรรม มีนักเรียน ๔ ชั้นปีและมีคณะกรรมการดำเนินงานและคณะกรรมการที่ปรึกษา ทั้งนี้มีชมรม อสม.จิตอาสาของตำบลจัดสมาชิกจากทุกหมู่บ้าน เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลตรวจสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุทุกครั้งที่มีการเปิดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมพิเศษในวาระต่างๆของโรงเรียน

          มีการนำใช้ข้อมูลโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดทำทะเบียนรายชื่อและประวัติของนักเรียนผู้สูงอายุทุกชั้นปี เพื่อประโยชน์ในการให้การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อทุกหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ